วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

หด

                                                     ลุงขี้บ่น 
        แม้เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า  อย่าทดท้อ         ความสำเร็จ หรือจะรอ คนท้อถอย
        ความสำเร็จ อยู่ที่ฝัน  วันรอคอย               จงอย่าปล่อย โอกาสทอง  ล่องลอยลา
        อันแม่พ่อ ก็แก่เฒ่า เจ้าก็รู้                       พ่อแม่ตาย ใครเลี้ยงดู  เจ้าเล่าหนา
        เหลือมรดก ทิ้งให้เจ้า เปล่าเลยนา            จึงส่งให้  เรียนวิชา จำให้ดี
        มีวิชา เหมือนมีทรัพย์ ยอมรับเถอะ            อย่าสะเออะ ทำชั่วช้า พาเสื่อมศรี
        ยังวัยเรียน เพี้ยนเสพยา บ้าเต็มที             บ้างก็มี  เมียผัว  มั่วสุมกัน
        บ้างก็ซิ่ง กลิ้งมากหลาย ตายก็มาก           มีหลายหลาก พิการกาย ไร้สุขสรรค์
        ความอดทน เหือดหาย จากใจพลัน          ความมักง่าย มันกระทั่น กระแทกใจ
        ความใฝ่ดี ก็หนีหาย ไปกันหมด               แสนรันทด เยาวชน พ้นวิสัย
        จะเยียวยา  แล้วผอง ของเด็กไทย            การศึกษา ระบบใด กอบกู้ที

                 "แล่ว...เก่งอีตายนักวิชาการไทยเรา แหลงโอ้รด พันนู่พันนี่ แล่วก็แพล่ด ๆ
                  เอามัธยมมารวมกับประถมซิ แล ๆ มัน..เอ้า..ไหนถ้ารวมกันเราแย้แน่ ๆ
                  ไหนลองแยกประถมกับมัธยมซิ....รกอกจังแล่วนิ ตกอยู่ที่สุดท้ายเพื่อนแล่ว
                   พี่ไทยเรา"

                                        "สมองใหญ่  ใจแฟบ"
                                
                           "เหนือยหลานบาวเห้อ...หวางอีได้สักบาท
                            อย่าเที่ยวเกเรกันให้มันมากไป เห็นดูคนหา
                            เบี้ยมั้งต๊ะ เหงื่อย้อยทางร่องโมงแล้วนิ...ตั้งใจ
                            เรียนกันให้ดี ๆ ต๊ะ"

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค


พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คลิกที่นี่
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2541 คลิกที่นี่
 คลิปเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค คลิกที่นี่


พระราชบัญญัติลิขสิทธิ พ.ศ. 2537  คลิกที่นี่

ขั้นตอนการขอจดลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้ม
ครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภท คือ
- งานวรรณกรรม
- งานนาฎกรรม
- งานดนตรีกรรม
- งานศิลปกรรม
- ภาพยนตร์
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
- สิ่งบันทึกเสียง
- โสตทัศนวัสดุ
- และงานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์
และแผนกศิลปะ 


งานเขียนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม
ซึ่งผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์ผลงาน
เสร็จ โดยมิต้องทำการจดทะเบียนคุ้มครองสิทธิแต่อย่างใด
แต่กรมทรัพย์สินทางปัญญามีบริการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และเพื่อให้ประชาชนทราบ
ข้อมูลดังกล่าวโดยมิต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
และต้องนำหลักฐานการแจ้งดังนี้

1. แบบ ลข.01 และสำเนา 1 ฉบับ
2. หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
3. ผลงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด 4. สำเนาบัตรประชาชน
พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- กรณีนิติบุคคลให้ใช้ต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลทิ่ออก
ให้ไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันออกหนังสือรับรอง
- หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้ง
ผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กร
- มูลนิธิใช้สำเนาหนังสือจดทะเบียนตั้งมูลนิธิ หนังสือแต่ง
ตั้งตัวแทน หนังสือมอบอำนาจต้องติดอากร 30 บาท
พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
(สำเนาทุกฉบับต้องรับรองสำเนาถูกต้อง)
โดยสามารถดำเนินการได้ที่งานบริการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา
โทรศัพท์ 0-2547-4633 หรือ 0-2547-4634 หรือที่
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ

เมื่อท่านได้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ ท่านจะได้รับความ
คุ้มครองแก่งานนั้นทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียน
โดยท่านสามารถระบุชื่อของท่านในฐานะผู้สร้างสรรค์
วัน เดือน ปี ที่สร้างสรรค์ เพื่อเป็นการแสดงความเป็นเจ้า
ของลิขสิทธิ์ได้ ขณะเดียวกันท่านอาจมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ได้ที่กรม
ทรัพย์สินทางปัญญาเช่นกัน 


ข้อมูลจาก http://www.deewrite.com/knowledge/copyrights_6.html

พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน


พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับที่ 2  คลิกที่นี่
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับที่ 3  คลิกที่นี่

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

 วิธีการศึกษา ให้นักเรียนคลิกดาวน์โหลดก่อน แล้วคลิกเปิดครับ

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 คลิกที่นี่
สาระสำคัญพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2554 คลิกที่นี่  มีอะไรเพิ่มเติมบ้าง
พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ฉบับการ์ตูน คลิกที่นี่ 

                    การกระทำที่เข้าข่ายกระทำความผิดพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์


  • เจาะข้อมูลผู้อื่นที่ตั้ง Password เอาไว้

  • เอา Password ระบบรักษาความปลอดภัย หรือความมั่นคงของผู้อื่นไปเปิดเผย

  • ละเมิดข้อมูลผู้อื่นโดยยังไม่ได้รับอนุญาต

  • ดัก e-Mail ส่วนตัวคนอื่น ขณะทำการส่ง e-Mail

  • แก้ไข ทำลายข้อมูลคนอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม

  • ก่อกวนระบบคนอื่นจนระบบล่ม

  • ส่ง Forward Mail รบกวนผู้อื่นจนก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือเสียหาย

  • กระทำการสร้างความเสียหายต่อบุคคล ที่กระทบต่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  • เผยแพร่โปรแกรมที่ใช้ในการกระทำผิด

  • เผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

  • ตกแต่งภาพบุคคล และโพสต์เข้าระบบคอมพิวเตอร์

ข้อมูลจาก http://ictcenter.spu.ac.th/content/192/4975.php

พระราชบัญญัติรับราชการทหาร


พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 คลิกที่นี่

พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534

พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 คลิกที่นี่

พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2551

พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2551 และสรุปสาระสำคัญ คลิกที่นี่

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และฉบับแก้ไขจนถึง 2550  คลิกที่นี่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                                       ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คลิกที่นี่

ประมวลกฎหมายอาญา


ประมวลกฎหมายอาญา คลิกที่นี่
ดูคลิปการ์ตูน เรื่องมีต้องโทษด้วยคดีอาญา คลิกที่นี่ 
ดูคลิปการ์ตูน เรื่องสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลย คลิกที่นี่

กฎหมายอาญาตอนที่ 1


คลิกดาวน์โหลด แล้วคลิกอ่าน












ข้อมูลจาก http://e-book.ram.edu/e-book/indexstart.htm

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

นิติกรรมสัญญา


คลิกดาวน์โหลด แล้วคลิกเปิด

กฎหมายว่าด้วยมรดก

กฎหมายว่าด้วยมรดก
คลิกดาวน์โหลด แล้วคลิกเปิด
คลิปการ์ตูนตอน พินัยกรรมและการจัดการมรดก คลิกที่นี่

กฎหมายลักษณะหนี้

กฎหมายลักษณะหนี้
คลิกดาวน์โหลดก่อน แล้วคลิกเปิด

กฎหมายลักษณะครอบครัว

กฎหมายลักษณะครอบครัว
คลิกดาวน์โหลด แล้วคลิกเปิด

นิติกรรม

ข้อมูลจาก http://e-book.ram.edu/e-book/l/LW203/lw203-1-3.pdf

ทรัพย์


ทรัพย์


ทรัพย์ 
หมายความว่า  วัตถุที่มีรูปร่าง  (มาตรา 137)

ทรัพย์สิน 
หมายความรวมทั้งทรัพย์ และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคา และถือเอาได้  (มาตรา 138)
                  
คำว่า วัตถุไม่มีรูปร่างคือวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็น จับ ต้อง สัมผัสได้ ไม่มีส่วนสัด ไม่มีตัวตน ไม่มีขนาด เช่น แก๊ส กำลังแรงของลม พลังปรมาณู
และยังรวมถึงสิ่งที่ไม่มีรูปร่างที่กฎหมายได้รับรองแล้ว เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิทธิในเครื่องหมายการค้า  กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ สิทธิจำนำ  สิทธิจำนอง สิทธิการเช่า สิทธิตามสัญญากู้ สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ฯลฯ
 มนุษย์มิใช่ทรัพย์หรือทรัพย์สิน เพราะมิใช่วัตถุที่มีราคาและถือเอาได้ และมนุษย์ยังเป็นประธานแห่งสิทธิ หรือผู้ทรงสิทธินั่นเอง

ประเภทของทรัพย์สิน
1.  อสังหาริมทรัพย์
2.  สังหาริมทรัพย์
3.  ทรัพย์แบ่งได้
4.  ทรัพย์แบ่งไม่ได้
5.  ทรัพย์นอกพาณิชย์

อสังหาริมทรัพย์
          แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.     ที่ดิน
2.     ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร
3.     ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
4.     ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน

ที่ดิน
หมายถึง พื้นดินทั่วๆ ไป อันมีอาณาเขตพึงกำหนดได้โดยการวัดเป็นส่วนกว้างและส่วนยาว

ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร  ซึ่งอาจติดอยู่กับที่ดินได้ 2  ลักษณะคือ
1.       ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินโดยธรรมชาติ
2.       ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินโดยมีผู้นำมาติดโดยติดตรึงตรา ยึดมั่นกับที่ดินอันมีลักษณะเป็นการถาวร   แม้ว่าผู้นำมาติดจะมีเจตนาเพียงให้อยู่ชั่วคราว ก็ถือว่าเป็น อสังหาริมทรัพย์ 

ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
หมายถึง ทรัพย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่อยู่บนพื้นโลก รวมสภาพตามธรรมชาติหรือมีผู้นำมาประกอบกับที่ดิน เช่น ก้อนหิน กรวด ทราย แร่โลหะต่างๆ ที่ประกอบอยู่กับที่ดิน ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ

ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
ทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน เช่นกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิจำนอง  ภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน เช่น กรรมสิทธิ์ในบ้าน สิทธิครอบครองในบ้าน สิทธิจำนองบ้าน สิทธิอาศัยในบ้าน
         
ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินเช่น กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองใน คลอง บึง 

สังหาริมทรัพย์
ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย
   

 สิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน
                    
1.  สิทธิในสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่าง
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ สิทธิครอบครองรถยนต์  สิทธิการเช่ารถยนต์ สิทธิของผู้รับจำนำ  สิทธิยึดหน่วง

2.   สิทธิในสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง
ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิตามสัญญากู้ สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ  ฯลฯ

ทรัพย์แบ่งได้
ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วน ๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว เช่น  น้ำตาล ข้าวสาร สุรา  กรวด  ทราย

ทรัพย์แบ่งไม่ได้
 ทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย
                     
ทรัพย์แบ่งไม่ได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                     
1.  ทรัพย์แบ่งไม่ได้โดยสภาพ
ทรัพย์ซึ่งเมื่อแบ่งแยกออกจากกันแล้ว จะทำให้ทรัพย์นั้นต้องเปลี่ยนภาวะ หรือรูปลักษณ์แตกต่างออกไปจากเดิม เช่น นาฬิกา  บ้านเรือน เสื้อ กางเกง โต๊ะ
2.  ทรัพย์แบ่งไม่ได้โดยอำนาจของกฎหมาย
ทรัพย์ที่แม้โดยสภาพจะแบ่งแยกได้ แต่กฎหมายบัญญัติให้ทรัพย์นั้นแบ่งแยกจากกันไม่ได้ เช่น หุ้นของบริษัทจำกัด ทรัพย์ส่วนควบ ภารจำยอม สิทธิจำนอง  เป็นต้น


ทรัพย์นอกพาณิชย์
 ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
                     
ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้
ทรัพย์ที่มิได้เป็นทรัพย์ตามกฎหมาย (เพราะทรัพย์จะต้องอาจถือเอาได้) ที่จะนำมาจำหน่ายจ่ายโอนได้ ทรัพย์นอกพาณิชย์ประเภทนี้ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์  ดวงดาว  ก้อนเมฆ  อุกกาบาต 


ทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
หมายถึง ทรัพย์ที่หากจะโอนกันได้ จะต้องอาศัยอำนาจของกฎหมาย เช่น สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน สิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจะสละหรือโอนมิได้   ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34

ส่วนควบของทรัพย์
ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
                     
ลักษณะสำคัญของส่วนควบ
1.เป็นสาระสำคัญของกันและกันในความเป็นอยู่ของทรัพย์ รวมถึงโดยจารีตประเพณีด้วยและ
2.  ไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย  หรือ  ทำบุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนรูปทรงหรือสภาพ
          เช่น
          รถยนต์ ประกอบไปด้วย แชสซี ตัวถัง เครื่องยนต์  ล้อ   ดังนั้น ถ้าแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกมา  ก็จะทำให้ไม่มีสภาพความเป็นรถได้
          ตึก ประกอบด้วยส่วนสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของตึกโดยสภาพ  ได้แก่ อิฐ ปูน ทราย
          นาฬิกา ถ้าถอด เข็ม ลาน  จักร  ออกมา นาฬิกาก็ไม่สามารถเดินต่อได้ จึงถือว่า เข็ม ลาน จักร เป็นส่วนควบของนาฬิกา
          ตึก บ้านเรือนบนที่ดิน โดยสภาพทรัพย์ไม่เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่โดยสภาพของที่ดิน เพราะแม้จะรื้อตึกบ้านเรือนออกไปจากที่ดิน  ที่ดินก็ยังมีสภาพเป็นที่ดินอยู่ 
แต่โดยจารีตประเพณีทั่วไปถือว่าสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเป็นสาระสำคัญของที่ดิน     หรือ
          ครัว ตามจารีตประเพณีย่อมถือว่าเป็นสาระสำคัญของตัวเรือน

ข้อยกเว้นของกฎหมายที่ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบ
ไม้ล้มลุก หรือธัญชาติ  แม้จะเก็บเกี่ยวได้คราวเดียวหรือหลายคราวในแต่ละปี
ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว
โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธิปลูกสร้างไว้


ใครคือเจ้าของส่วนควบ
ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
แต่บทบัญญัติดังกล่าว ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาด ดังนั้น เจ้าของทรัพย์จะทำนิติกรรมจำหน่ายทรัพย์โดยยกเว้นไม่ให้ส่วนควบของทรัพย์ตกติดไปด้วยก็ได้

อุปกรณ์ของทรัพย์
หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
                     
ลักษณะสำคัญของอุปกรณ์
1.   อุปกรณ์จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เสมอ
2.    อุปกรณ์จะต้องมีทรัพย์ประธาน
3.   อุปกรณ์กับทรัพย์ประธาน โดยหลักต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของคนเดียวกัน
4.    อุปกรณ์จะต้องเป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ประธานเป็นอาจิณ
5.    อุปกรณ์ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของทรัพย์ประธาน นำมาสู่ทรัพย์ประธาน  ในฐานะที่เป็นเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดการ ดูแลใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ประธาน ข้อสำคัญของอุปกรณ์จะต้องเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ของทรัพย์ประธานเท่านั้น  ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของเจ้าของทรัพย์ประธาน

ใครคือเจ้าของอุปกรณ์
โดยหลักแล้ว ย่อมเป็นบุคคลคนเดียวกับบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์ประธาน เพราะเครื่องอุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
ดอกผลของทรัพย์
แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1.  ดอกผลธรรมดา
2.  ดอกผลนิตินัย                     
ดอกผลธรรมดา
สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น

ลักษณะสำคัญของดอกผลธรรมดา
1.   ต้องเป็นทรัพย์ที่งอกเงยเพิ่มพูนจากตัวแม่ทรัพย์
2.   ต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากแม่ทรัพย์
3.   ดอกผลต้องถือเอาได้เมื่อขาดจากแม่ ทรัพย์แล้ว
 ดอกผลนิตินัย
ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

ลักษณะสำคัญของดอกผลนิตินัย
1.    ต้องเป็นทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่น
ดอกผลที่เป็นทรัพย์ก็เช่น ดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่า ค่าปันผล 
          คำว่า ประโยชน์อย่างอื่น หมายถึง ประโยชน์อย่างอื่นที่เกิดจากการใช้แม่ทรัพย์ หรือทรัพย์ประธาน ในลักษณะที่เป็นการตอบแทน เช่น  นาย ก. ยินยอมให้ นาย ข. พักอาศัยอยู่ในบ้าน โดยไม่เรียกเก็บค่าเช่า แต่นาย ข. ตกลงที่จะตัดหญ้า หรือตกแต่งดูแลสนามหญ้าในบ้านนาย ก. ทุกเดือน

2.  ต้องเป็นทรัพย์ที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์
          สิ่งที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์ตามสัญญาหรือตามกฎหมาย ย่อมเป็นดอกผลนิตินัย เช่น เอาเงินออกให้กู้ยืม เอาบ้านออกให้เช่า  ดอกเบี้ยเงินกู้ หรือ ค่าเช่า ย่อมตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์

3.  เป็นทรัพย์ที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์ ต้องเป็น   การตอบแทนจากผู้อื่นในการที่ได้ใช้แม่ทรัพย์
                  
เช่น  ค่าเช่า เป็นผลประโยชน์ที่ผู้เช่าให้แก่ผู้ให้เช่าหรือเจ้าของทรัพย์อันเนื่องมาจากการได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่า  แต่ถ้าไม่เป็นการตอบแทนจากผู้อื่นในการที่ผู้นั้นได้ใช้แม่ทรัพย์ก็ไม่เป็นดอกผลนิตินัย เช่น ให้เช่ารถยนต์เพื่อเป็นแท็กซี่รับส่งผู้โดยสาร ค่าเช่ารถเป็นดอกผลนิตินัย   แต่ค่าโดยสารรถแท็กซี่ซึ่งได้จากผู้โดยสาร ย่อมไม่ใช่ดอกผลนิตินัย เพราะเงินค่าโดยสารไม่ได้ตกแก่เจ้าของรถแท็กซี่  และไม่ได้เป็นการตอบแทนจากการที่ผู้เช่าได้ใช้รถแท๊กซี่

4.  ทรัพย์ที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์จะต้องได้เป็นครั้งคราว จากการใช้แม่ทรัพย์
ทรัพย์ใดที่ได้คราวเดียวแก่เจ้าของแม่ทรัพย์ ย่อมไม่ใช่ดอกผลนิตินัย เช่น ขายรถยนต์ได้เงินมา เงินราคาค่ารถไม่เป็นดอกผลนิตินัย  แม้ว่าจะมีการผ่อนชำระก็ตาม
คำว่า ครั้งคราว ไม่ได้หมายความว่า จะต้องจ่ายกันเป็นครั้งคราวจริงๆ เพียงแต่ทรัพย์ที่ตอบแทนจากการที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้น อาจคิดคำนวณได้เป็นครั้งคราว ก็จัดว่าเป็น ครั้งคราว  เช่น เช่ารายเดือนๆ ละ 800 บาท แต่ผู้เช่าเหมาจ่ายทั้งปีรวม 9,600 บาท เงินค่าเช่าทั้งปี ก็เป็นดอกผลนิตินัย

ข้อมูลโดย    สุพจน์  ศิริรัตนาวราคุณ   อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ 
               มหาวิทยาลัยโยนก