วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

หด

                                                     ลุงขี้บ่น 
        แม้เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า  อย่าทดท้อ         ความสำเร็จ หรือจะรอ คนท้อถอย
        ความสำเร็จ อยู่ที่ฝัน  วันรอคอย               จงอย่าปล่อย โอกาสทอง  ล่องลอยลา
        อันแม่พ่อ ก็แก่เฒ่า เจ้าก็รู้                       พ่อแม่ตาย ใครเลี้ยงดู  เจ้าเล่าหนา
        เหลือมรดก ทิ้งให้เจ้า เปล่าเลยนา            จึงส่งให้  เรียนวิชา จำให้ดี
        มีวิชา เหมือนมีทรัพย์ ยอมรับเถอะ            อย่าสะเออะ ทำชั่วช้า พาเสื่อมศรี
        ยังวัยเรียน เพี้ยนเสพยา บ้าเต็มที             บ้างก็มี  เมียผัว  มั่วสุมกัน
        บ้างก็ซิ่ง กลิ้งมากหลาย ตายก็มาก           มีหลายหลาก พิการกาย ไร้สุขสรรค์
        ความอดทน เหือดหาย จากใจพลัน          ความมักง่าย มันกระทั่น กระแทกใจ
        ความใฝ่ดี ก็หนีหาย ไปกันหมด               แสนรันทด เยาวชน พ้นวิสัย
        จะเยียวยา  แล้วผอง ของเด็กไทย            การศึกษา ระบบใด กอบกู้ที

                 "แล่ว...เก่งอีตายนักวิชาการไทยเรา แหลงโอ้รด พันนู่พันนี่ แล่วก็แพล่ด ๆ
                  เอามัธยมมารวมกับประถมซิ แล ๆ มัน..เอ้า..ไหนถ้ารวมกันเราแย้แน่ ๆ
                  ไหนลองแยกประถมกับมัธยมซิ....รกอกจังแล่วนิ ตกอยู่ที่สุดท้ายเพื่อนแล่ว
                   พี่ไทยเรา"

                                        "สมองใหญ่  ใจแฟบ"
                                
                           "เหนือยหลานบาวเห้อ...หวางอีได้สักบาท
                            อย่าเที่ยวเกเรกันให้มันมากไป เห็นดูคนหา
                            เบี้ยมั้งต๊ะ เหงื่อย้อยทางร่องโมงแล้วนิ...ตั้งใจ
                            เรียนกันให้ดี ๆ ต๊ะ"

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค


พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คลิกที่นี่
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2541 คลิกที่นี่
 คลิปเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค คลิกที่นี่


พระราชบัญญัติลิขสิทธิ พ.ศ. 2537  คลิกที่นี่

ขั้นตอนการขอจดลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้ม
ครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภท คือ
- งานวรรณกรรม
- งานนาฎกรรม
- งานดนตรีกรรม
- งานศิลปกรรม
- ภาพยนตร์
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
- สิ่งบันทึกเสียง
- โสตทัศนวัสดุ
- และงานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์
และแผนกศิลปะ 


งานเขียนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม
ซึ่งผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์ผลงาน
เสร็จ โดยมิต้องทำการจดทะเบียนคุ้มครองสิทธิแต่อย่างใด
แต่กรมทรัพย์สินทางปัญญามีบริการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และเพื่อให้ประชาชนทราบ
ข้อมูลดังกล่าวโดยมิต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
และต้องนำหลักฐานการแจ้งดังนี้

1. แบบ ลข.01 และสำเนา 1 ฉบับ
2. หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
3. ผลงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด 4. สำเนาบัตรประชาชน
พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- กรณีนิติบุคคลให้ใช้ต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลทิ่ออก
ให้ไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันออกหนังสือรับรอง
- หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้ง
ผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กร
- มูลนิธิใช้สำเนาหนังสือจดทะเบียนตั้งมูลนิธิ หนังสือแต่ง
ตั้งตัวแทน หนังสือมอบอำนาจต้องติดอากร 30 บาท
พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
(สำเนาทุกฉบับต้องรับรองสำเนาถูกต้อง)
โดยสามารถดำเนินการได้ที่งานบริการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา
โทรศัพท์ 0-2547-4633 หรือ 0-2547-4634 หรือที่
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ

เมื่อท่านได้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ ท่านจะได้รับความ
คุ้มครองแก่งานนั้นทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียน
โดยท่านสามารถระบุชื่อของท่านในฐานะผู้สร้างสรรค์
วัน เดือน ปี ที่สร้างสรรค์ เพื่อเป็นการแสดงความเป็นเจ้า
ของลิขสิทธิ์ได้ ขณะเดียวกันท่านอาจมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ได้ที่กรม
ทรัพย์สินทางปัญญาเช่นกัน 


ข้อมูลจาก http://www.deewrite.com/knowledge/copyrights_6.html

พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน


พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับที่ 2  คลิกที่นี่
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับที่ 3  คลิกที่นี่

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

 วิธีการศึกษา ให้นักเรียนคลิกดาวน์โหลดก่อน แล้วคลิกเปิดครับ

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 คลิกที่นี่
สาระสำคัญพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2554 คลิกที่นี่  มีอะไรเพิ่มเติมบ้าง
พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ฉบับการ์ตูน คลิกที่นี่ 

                    การกระทำที่เข้าข่ายกระทำความผิดพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์


  • เจาะข้อมูลผู้อื่นที่ตั้ง Password เอาไว้

  • เอา Password ระบบรักษาความปลอดภัย หรือความมั่นคงของผู้อื่นไปเปิดเผย

  • ละเมิดข้อมูลผู้อื่นโดยยังไม่ได้รับอนุญาต

  • ดัก e-Mail ส่วนตัวคนอื่น ขณะทำการส่ง e-Mail

  • แก้ไข ทำลายข้อมูลคนอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม

  • ก่อกวนระบบคนอื่นจนระบบล่ม

  • ส่ง Forward Mail รบกวนผู้อื่นจนก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือเสียหาย

  • กระทำการสร้างความเสียหายต่อบุคคล ที่กระทบต่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  • เผยแพร่โปรแกรมที่ใช้ในการกระทำผิด

  • เผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

  • ตกแต่งภาพบุคคล และโพสต์เข้าระบบคอมพิวเตอร์

ข้อมูลจาก http://ictcenter.spu.ac.th/content/192/4975.php

พระราชบัญญัติรับราชการทหาร


พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 คลิกที่นี่